เซียนบาคาร่า บอร์ดเศรษฐี เงินได้สูงสุด
เครดิตฟรี
รูปไอค่อนอันดับประจำกลุ่ม
อันดับ

กติกาปิงปอง เกมกีฬาสากล ที่ได้รับความนิยมจนเล่นกันทั่วทั้งโลก


สมัครสมาชิกคาสิโนออนไลน์

กติกาปิงปอง – เกมกีฬาสากลระดับโลก

กติกาปิงปอง เกมกีฬา ที่ผู้คนต่างเล่นกันทั่วทุกแห่ง เป็นเกมกีฬาสากล ระดับโลก ที่มีการแข่งขันเกิดขึ้นอยู่บ่อยครัง จึงทำให้มีการออกกฎกติกาการเล่น ที่มีความเป็นสากล โดยเป็นมาตรฐานเดียวทั่วทุกแห่ง เพราะการเล่นปิงปองนี้ มีกฎกติกาที่ค่อนข้างมากอยู่พอสมควร และประวัติของกีฬาปิงปองนี้ ก็ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ปิงปอง ถือกำเนิดมาเป็นเวลามากกว่า 130 ปี แล้ว จึงจำเป็นต้องมีการเล่นที่เป็นมาตรเดียวกันทั่วทั้งโลกนั่นเอง การเล่นปิงปอง ยังเป็นการเพิ่มทักษะของการใช้ สายตา สมอง ร่างกาย และไหวพริบอีกด้วย จึงทำให้ผู้คนต่างก็ได้ให้ความสนใจกับการเล่นเกมปิงปองอย่างมาก เพราะได้เพิ่มทักษะร่างกายแล้ว ยังเป็นการออกกำลังกายที่ดีอีกด้วยนั่นเอง

กติกาปิงปอง คืออะไร มีประวัติเป็นมายังไง

ก่อนที่จะรู้ถึง กติกาปิงปอง คืออะไร เราจะเล่าถึงประวัติของ กีฬาปิงปอง กันก่อนว่า มีประวัติความเป็นมายังไง จุดเริ่มต้นของ ปิงปอง มีมาจากตรงไหน กับเกมกีฬาที่สร้างความสนุกสนานในหมู่เพื่อนของเราเอง และขณะเดียวกัน ยังเป็นกีฬาที่มีความท้าทาย โดยผู้ที่เล่นจะต้องอาศัยไหวพริบ และความคล่องแคล่วของร่างกายอีกด้วย เพื่อในการตอบโต้ การรับ-การส่ง ลูกปิงปองในขณะเล่น

ประวัติปิงปอง (Table Tennis)

กีฬาปิงปอง ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกในช่วงปี 1890 โดยมีจุดกำเนิดในประเทศอังกฤษ (ไม่ใช่ประเทศจีน) โดยเวลาที่ลูกบอล หรือลูกปิงปอง กระทบกับโต๊ะ และไม้ จะทำให้เกิดเป็นเสียง “ปิ๊ก-ปอก” จึงทำให้กีฬานี้ ถูกเรียกชื่อตามเสียงที่ได้ยินนั่นเอง ชื่อตามเสียงนั่นก็คือ “ปิงปอง” (PINGPONG) และได้เริ่มแพร่หลายในประเทศยุโรปก่อน

ซึ่งวิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้น จะเป็นการเล่นแบบยันหรือต้าน (BLOCKING) และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP หรือเรียกว่าการเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีการเล่นนี้เป็นที่นิยมมากแถบยุโรป ส่วนวิธีการจับไม้ จะมี 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับแบบยุโรป” และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับไม้แบบจีน”

 ในปี ค.ศ. 1900 เริ่มปรากฏว่ามีการหันมาใช้ไม้ปิงปองติดยางเม็ดแทนหนังสัตว์ ดังนั้น วิธีการเล่นแบบรุก หรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE) โดยใช้ท่าหน้ามือ (FOREHAND) และหลังมือ (BACKHAND) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น และยังคงนิยมการจับแบบไม้แบบยุโรป ดังนั้น จึงถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง

ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 ได้มีบริษัทค้าขายอุปกรณ์กีฬา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า “PINGPONG” ด้วยเหตุนี้ กีฬาปิงปองจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น เทเบิลเทนนิส (TABLE TENNIS) และในปี ค.ศ. 1926 ได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอน ในเดือนธันวาคม พร้อมกับมีการจัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลก ครั้งที่ 1  ขึ้นเป็นครั้งแรก

จากนั้นในปี ค.ศ. 1950 เป็นยุคที่ประเทศญี่ปุ่น ได้หันมาสนใจกีฬาเทเบิลเทนนิสมากขึ้น และได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเล่น โดยเน้นไปที่การตบลูกอย่างแม่นยำ และหนักหน่วง และการใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และในปี ค.ศ. 1953 สาธารณรัฐประชาชนจีน จึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสกลายเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริง โดยในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา และมีการพัฒนาไม้ปิงปองโดยใช้ยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำ เพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก

กติกาปิงปอง แบบย่อ มีอะไรบ้าง

  • ผู้เล่นที่ได้ 11 คะแนนก่อนเป็นคนแรก จะเป็นผู้ชนะเกม
  • การโยนเหรียญ เป็นการหาว่าผู้เล่นคนใด จะได้เสิร์ฟคนแรก
  • ผู้เล่นจะได้เสิร์ฟ 2 ครั้ง การเสิร์ฟต้องเปิดฝ่ามือ ลูกปิงปองจะถูกโยนขึ้น 6 นิ้วและตีให้กระทบฝั่งเสิร์ฟ ผ่านเน็ท และกระทบลงฝั่งผู้เล่นตรงข้าม
  • หากคะแนนผู้เล่น เสมอที่คะแนน 10-10 ต้องเอาชนะด้วย 2 คะแนน ผู้เล่นแต่ละฝั่งจะเสิร์ฟได้แค่ครั้งเดียว จนกว่าจะมีผู้เล่นเอาชนะได้ 2 แต้ม และชนะเกมไปได้ในที่สุด
  • เมื่อจบแต่ละเกม ให้สลับด้านผู้เล่น และสลับผู้เสิร์ฟ
  • ในเกมสุดท้าย ฝ่ายรับจะต้องเปลี่ยนผู้รับทันที เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้  5 คะแนนก่อน

วิธีการเล่นกีฬาปิงปอง หรือเทเบิลเทนนิส

1. การส่งลูกที่ถูกต้อง ลูกจะต้องอยู่ที่ฝ่ามือแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ สูงไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร

2. การรับลูกที่ถูกต้อง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีข้ามตาข่ายมากระทบแดนของตนครั้งเดียว ต้องตีกลับให้ข้ามตาข่าย หรืออ้อมตาข่ายกลับไป ลูกที่ให้ส่งใหม่คือ ลูกเสิร์ฟติดตาข่าย แล้วข้ามไปตกแดนคู่ต่อสู้หรือเหตุอื่นที่ผู้ตัดสินเห็นว่าจะต้องเสิร์ฟใหม่

3. การแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภทเดี่ยว และประเภทคู่

4. การนับคะแนน ถ้าผู้เล่นทำผิดกติกา จะเสียคะแนน

5. ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากัน จะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่ายชนะทันที

การแข่งขันประเภททีมมี 2 แบบ คือ 

SWAYTHLING CUP มีผู้เล่นครั้งละ 3 คน

CORBILLON CUP มีผู้เล่นครั้งละ 2-4 คน

กติกาปิงปอง และการทำคะแนน

การทำคะแนนผู้เล่นต้องทำให้ฝ่ายตรงข้าม ตีลูกปิงปองออกนอกโต๊ะ ตีลูกปิงปองติดเน็ท หรือรับลูกปิงปองไม่ได้เลยเมื่อทำการเสิร์ฟ คู่แข่งจะได้แต้มถ้าคุณเสิร์ฟไม่สำเร็จ ห้ามตีลูกก่อนลูกแตะพื้นโต๊ะ  หรือขวางลูกปิงปอง ส่วนการตีลูกซ้ำ 2 ครั้งจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามได้คะแนน

ผู้ชนะในแมทช์ คือ คนแรกที่ทำเกมได้ถึงกำหนด การชนะเกม ผู้เล่นจะต้องได้คะแนน 11 คะแนน ถ้าคะแนนเท่ากัน 10-10 ผู้เล่นที่ทำคะแนนนำได้ 2 แต้มก่อน เป็นคนแรกคือผู้ชนะเกมทันที

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นปิงปอง

อุปกรณ์ที่จะใช้ในการเล่นกีฬานั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่จะขาดไม่ได้ เพราะกีฬาแทบทุกประเภท ใช้อุปกรณ์ในการเล่น ทำคะแนน และชนะ แตกต่างกันออกไป กีฬาทุกชนิดนั้ง จึงมีอุปกรณ์ที่แตกต่างกันออกไป เราจึงต้องการยกตัวอย่าง อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นปิงปอง ว่ามีอะไรบ้าง

โต๊ะเทเบิลเทนนิส (โต๊ะปิงปอง)

1.1 พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า “พื้นผิวโต๊ะ” จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาว 2.74 เมตร (9 ฟุต) ความกว้าง 1.525 เมตร (5 ฟุต) และจะต้องสูงได้ระดับ โดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นผิวโต๊ะสูง 76 เซนติเมตร (2 ฟุต 6 นิ้ว)

1.2 พื้นผิวโต๊ะให้รวมถึงขอบบนสุดของโต๊ะ แต่ไม่รวมถึงด้านข้างของโต๊ะที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของโต๊ะลงมา

1.3 พื้นผิวโต๊ะจะทำด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้ แต่จะต้องมีความกระดอนสม่ำเสมอ เมื่อเอาลูกเทเบิลเทนนิสมาตรฐาน ทิ้งลงในระยะสูง 30 เซนติเมตร ลูกจะต้องกระดอนขึ้นมาประมาณ 23 เซนติเมตร

1.4 พื้นผิวโต๊ะจะต้องเป็นสีเข้มสม่ำเสมอ และเป็นสีด้านไม่สะท้อนแสง ขอบด้านบนของพื้นผิวโต๊ะทั้ง 4 ด้านจะทาด้วยสีขาว มีความกว้าง 2 เซนติเมตร เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตรทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นข้าง” เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านกว้าง 1.525 เมตร ทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นสกัด”

1.5 พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดนเท่า ๆ กันกั้นด้วยเน็ต ซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และขนานกับเส้นโดยตลอด

1.6 สำหรับประเภทคู่ ในแต่ละแดนจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่า ๆกัน ด้วยเส้นสีขาวขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร โดยขีดขนานกับเส้นข้างเรียกว่า “เส้นกลาง” และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ตด้านขวาของโต๊ะด้วย

1.7 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล โต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อ และชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น และในการจัดการแข่งขันจะต้องระบุสีของโต๊ะที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันด้วยทุกครั้ง

ส่วนประกอบของเน็ต

2.1 ส่วนประกอบของเน็ตจะประกอบไปด้วย ตาข่าย ที่แขวน และเสาตั้ง รวมไปถึงที่จับยึดกับโต๊ะเทเบิลเทนนิส

2.2 ตาข่ายจะต้องขึงตึงและยึดด้วยเชือก ซึ่งผูกติดปลายยอดเสา ซึ่งตั้งตรงสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร ( 6 นิ้ว) และยื่นออกไปจากเส้นข้างของโต๊ะถึงตัวเสาต้านละ 15.25 เซนติเมตร ( 6 นิ้ว) 

2.3 ส่วนบนสุดของตาข่ายตลอดแนวยาว จะต้องสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร

2.4 ส่วนล่างสุดของตาข่าย ตลอดแนวยาว จะต้องอยู่ชิดกับพื้นผิวโต๊ะ และส่วนปลายสุดของตาข่ายทั้งสองด้านจะต้องอยู่ชิดกับเสาให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

2.5 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล เน็ตที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อ และชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น และจะต้องเป็นสีเดียวกันกับโต๊ะที่ใช้แข่งขัน

ลูกเทเบิลเทนนิส (ลูกปิงปอง)

3.1 ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องกลมและมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มิลลิเมตร

3.2 ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีน้ำหนัก 2.7 กรัม

3.3 ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องทำด้วยเซลลูลอยด์ หรือวัสดุพลาสติกอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน มีสีขาว สีเหลือง หรือสีส้ม และเป็นสีด้าน

3.4 ลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับแข่งขัน จะต้องเป็นยี่ห้อ และชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น และจะต้องระบุสีของลูกที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันทุกครั้ง

ไม้เทเบิลเทนนิส

4.1 ไม้เทเบิลเทนนิสจะมีรูปร่าง ขนาด หรือน้ำหนักอย่างไรก็ได้ แต่หน้าไม้ จะต้องแบนเรียบและแข็ง

4.2 อย่างน้อยที่สุด 85% ของความหนาของไม้ จะต้องทำด้วยไม้ธรรมชาติ ชั้นที่อัดอยู่ติดภายในหน้าไม้ ซึ่งทำด้วยวัสดุอื่นใด เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ , กลาสไฟเบอร์ หรือกระดาษอัดจะต้องมีความหนาไม่เกิน 7.5 % ของความหนาทั้งหน้าไม้หรือไม่เกิน 0.35 มิลลิเมตร แล้วแต่กรณีใดจะมีค่าน้อยกว่า

4.3 หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านที่ใช้ในการตีลูกจะต้องมีวัสดุปิดทับ วัสดุนั้นจะเป็นยางเม็ดธรรมดาแผ่นเดียวกัน โดยหันเอาเม็ดออกมาด้านนอกและไม่มีฟองน้ำรองรับ แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้ และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 2 มิลลิเมตร หรือแผ่นยางแผ่นเดียวกันชนิดมีฟองน้ำรองรับโดยจะหันเอาเม็ดอยู่ด้านใน หรือเอาเม็ดอยู่ด้านนอกก็ได้ ยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้ และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร

4.3.1) แผ่นยางเม็ดธรรมดา จะต้องเป็นชิ้นเดียว และไม่มีฟองน้ำรองรับจะทำด้วยยางหรือยางสังเคราะห์ มีเม็ดกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 10 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร และไม่มากกว่า 50 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร

4.3.2) แผ่นยางชนิดมีฟองน้ำ ประกอบด้วยฟองน้ำชิ้นเดียวปิดคลุมด้วยแผ่นยางเม็ดธรรมดาชิ้นเดียว ซึ่งความหนาของแผ่นยางธรรมดานี้จะต้องมีความหนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร

4.4 วัสดุปิดทับหน้าไม้จะต้องปิดทับคลุมหน้าไม้ด้านนั้นๆ และจะต้องไม่เกินขอบของหน้าไม้ออกไป ยกเว้นส่วนที่ใกล้กับด้ามจับที่สุดและที่วางนิ้วอาจจะหุ้ม หรือไม่หุ้มด้วยวัสดุใดๆ ก็ได้ ซึ่งอาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของด้ามจับ

4.5 หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ชั้นภายในหน้าไม้ และชั้นของวัสดุปิดทับต่างๆ หรือกาวจะต้องสม่ำเสมอและมีความหนาเท่ากันตลอด

4.6 หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีแดงสว่าง และอีกด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีดำ โดยไม่คำนึงว่าหน้าไม้นั้นจะใช้ตีลูกเทเบิลเทนนิสหรือไม่ และจะต้องมีสีกลมกลืนอย่างสม่ำเสมอไม่สะท้อนแสง ตามขอบของไม้เทเบิลเทนนิสจะต้องไม่เป็นสีสะท้อนแสงหรือมีส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นสีขาว

4.7 วัสดุที่ปิดทับหน้าไม้สำหรับตีลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีเครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ ผู้ผลิต ยี่ห้อ รุ่น และเครื่องหมาย ITTF แสดงไว้อย่างชัดเจนใกล้กับขอบของหน้าไม้ โดยจะต้องเป็นชื่อยี่ห้อและชนิด ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ ครั้งหลังสุดเท่านั้น

4.8 สำหรับกาวที่มีส่วนประกอบของสารพิษจะไม่อนุญาตให้ใช้ทาลงบนหน้าไม้เทเบิลเทนนิส ผู้เล่นจะต้องใช้กาวแผ่นสำเร็จรูป หรือกาวที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น

4.9 การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความสม่ำเสมอของผิวหน้าไม้หรือวัสดุปิดทับหรือความไม่สม่ำเสมอของสีหรือขนาด เนื่องจากการเสียหายจากอุบัติเหตุ การใช้งานหรือสีจาง อาจจะอนุญาตให้ใช้ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเหตุเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อคุณลักษณะของผิวหน้าไม้หรือผิววัสดุปิดทับ

4.10 เมื่อเริ่มการแข่งขันและเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องแสดงไม้เทเบิลเทนนิสที่เขาเปลี่ยนให้กับคู่แข่งขัน และกรรมการผู้ตัดสินตรวจสอบก่อนทุกครั้ง

4.11 เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องมั่นใจว่าไม้เทเบิลเทนนิสนั้นถูกต้องตามระเบียบและกติกา

4.12 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด

สมัครสมาชิกคาสิโนออนไลน์